ไฟกระชากหายนะของเครื่องใช้ไฟฟ้า!!! ในช่วงเวลาที่ฝนตก สภาพอากาศภายนอกอาคารที่มีฝนตกและมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นเป็นระยะ ซึ่งการเกิดฟ้าผ่าก็คือการถ่ายเทประจุไฟฟ้าจำนวนมหาศาลจากก้อนเมฆลงสู่พื้นดิน เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลก็จะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีพลังมหาศาลแผ่ไปยังทุกทิศทาง โดยสนามแม่เหล็กไฟฟ้านี้จะไปเหนี่ยวนำกับสายไฟฟ้าหรือคู่สายสัญญาณต่างๆ การเหนี่ยวนำนี้ทำให้เกิดกระแสไฟกระชากหรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า ไฟเกินเกิดขึ้น กระแสไฟกระชากก็จะวิ่งผ่านสายไฟฟ้าเข้าสู่ตัวอาคารตรงไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกจุดที่ต่อใช้งานรวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อกับสายสัญญาณต่างๆซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์เหล่านี้ได้รับความเสียหายได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของกระแสไฟกระชากและความเปราะบางของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นสร้างความเสียหายมากมายทำลายทั้งชีวิตและความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้ เหนี่ยวนำเข้ามาทางสายไฟฟ้า AC Power Line คือ การเหนี่ยวนำเข้ามาทางสายไฟฟ้า AC Power LINE ยกตัวอย่าง บ้าน 2 ชั้นหลังหนึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆต่อใช้งานอยู่ รวมถึงมีอุปกรณ์ทางด้านโทรศัพท์เช่น Modem ต่อใช้งานกับอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วย เมื่อเกิดฟ้าผ่าก่อตัวเกิดขึ้นตามธรรมชาติจะมีการสะสมประจุบวกอยู่บริเวณด้านบนของก้อนเมฆ และประจุลบอยู่บริเวณด้านล่างของก้อนเมฆ เมื่อประจุลบสะสมตัวกันมากจะเกิดฟ้าผ่าลงมายังพื้นโลกทำให้มีการเหนี่ยวนำประจุบวกจากพื้นดินให้ขึ้นมาอยู่บริเวณยอดแหลมต่างๆ เช่น บริเวณตามยอดของต้นไม้ เป็นต้น เมื่อประจุลบสะสมตัวทำให้เกิดความหนาแน่นของประจุจนกระทั่งถึงจุดจุดหนึ่ง จะเกิดการถ่ายเทประจุจากก้อนเมฆลงสู่พื้นดินโดยเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า ฟ้าผ่าไฟกระชากที่เกิดขึ้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 คุณลักษณะ ดังนี้ ไฟกระชากแบบช่วงสั้น หรือ Transient คือ สภาวะไฟเกินที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000โวล์ขึ้นไป […]