โคมไฮเบย์ UFO คืออะไร? ใช้งานแตกต่างกับแบบเดิมๆอย่างไร? อะไรคือข้อดีของโคมชนิดนี้? โคมไฮเบย์ UFO เริ่มเป็นที่นิยมในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา (ปัจจุบันปี 2562) ด้วยรูปทรงที่ทันสมัย ดูล้ำยุค แตกต่างจากไฮเบย์ชนิดเก่าๆที่นิยมใช้ตามโกดัง โรงงานอุตสาหกรรม ที่จะมีลักษณะเป็นฝาชี สีเงินๆ หรือที่เรียกกันว่ารีเฟล็ค (Reflector) ด้วยรูปทรงที่คล้ายจานบิน UFO สีดำหรือสีเทา ใช้งานแตกต่างกับแบบเดิมๆอย่างไร? การใช้งานจริงๆแล้วแทบจะไม่มีอะไรแตกต่างจากโคมรูปแบบเดิม เพียงแต่ UFO จะมีการเพิ่มเลนส์พลาสติกที่ใต้ตัวโคม เพื่อบังคับแสง LED ให้ออกมาตามรูปแบบที่ต้องการ แทนการใช้รีเฟล็ค บังคะบแสง เช่น 90 องศา หรือ 120 องศา สาเหตุก็คือ ในอดีตที่นิยมใช้หลอดแรงดันสูงชนิดเมทัลฮาไลด์ หรือโซเดียม แสงจะออกด้านข้างและด้านล่าง ขึงจำเป็นที่จะต้องมีรีเฟล็คเพื่อบังคับแสง และกดแสงลงมาสู่พื้น แต่รุ่นใหม่ UFO แสงสว่างออกจาก LED ในลักษณะแนวดิ่ง การบังคับจึงใช้เพียงเลนส์พลาสติก็สามารถบังคับแสงได้ ถ้าตามผลเทสจากเครื่องเทส การบังคับแสงทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ ข้อดีที่เหนือกว่าของโคมรูปแบบ UFO […]
เลือกหลอดไฟอย่างไร ? วิธีเลือกหลอดไฟ ด้วยตัวคุณเอง วิธีเลือกหลอดไฟ เมื่อพูดถึงหลอดไฟแล้ว หลายๆคนก็คงจะนึกถึงแสงสว่างที่เปล่งออกมาจากหลอดแก้วรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า หากต้องการที่จะเลือกซื้อหลอดไฟซัก 1 ชิ้น เราจำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาอธิบายความรู้พื้นฐานง่ายๆให้ทราบกัน [/col] [/row] [/section]
ปริมาณทางแสง หน่วยวัด และ การแปลงหน่วย หน่วยวัดสำหรับปริมาณทางแสง (ได้แก่ ฟลักซ์การส่องสว่าง ความเข้มการส่องสว่าง ความส่องสว่าง และความสว่าง) ที่ใช้ในคู่มือเล่มนี้เป็นหน่วยในระบบ SI ซึ่งถูกใช้อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามใน ตำราหรือมาตรฐานบางประเทศอาจใช้หน่วยวัดที่แตกต่างออกไป จึงได้รวบรวมและสรุปไว้ดังนี้ ปริมาณ หน่วย ที่มา/คำอธิบาย ตัวคูณที่ทำให้เป็นหน่วย SI ฟลักซ์การส่องสว่าง (luminous flux) Dekalumen 10 ลูเมน 10 lm light-watt 1 วัตต์ของพลังงานที่แผ่ออกมาของ ความยาวคลื่น 555 นาโนเมตร 683 lm ความเข้มการส่องสว่าง(luminous intensity) candle ปริมาณแสงที่ได้มาจากหลอดไส้มาตรฐาน (incandescent standard lamp) อาจเรียกว่า แรงเทียน 1 cd Hefner candle ปริมาณแสงที่ได้มาจากหลอดเปลว มาตรฐาน (flame standard lamp) […]
เคยสงสัยไหม? “เสาไฟถนนชุบกัลวาไนซ์ คืออะไร การเคลือบชุบพื้นผิวเหล็กเพื่อป้องกันการเกิดสนิมนั้น มีหลากหลายวิธีมาก แต่มีวิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมในวงการอุตสาหกรรม เพราะราคาค่อนข้างถูก และยังยืดอายุการใช้งานได้นานหลายปี ซึ่งวิธีนั้นก็คือ ‘‘การชุบกัลวาไนซ์’’ การชุบกัลวาไนซ์ มันก็คือการนำพื้นผิวเหล็กมาเคลือบ หรือชุบกับสังกะสี วิธีการก็คือ นำเหล็กมาทำความสะอาด กำจัดสิ่งสกปรก ล้างสารเคมี สารละลายด่างออกด้วยน้ำRinsing แล้วกัดด้วยกรด Pickling เพื่อกำจัดฟิล์มออกไซด์และสิ่งปนเปื้อน จากนั้นนำไปแช่ยาประสาน(fluxing) แล้วจึงชุบเคลือบที่บ่อสังกะสี(Galvanizing) ที่กำลังหลอมละลายอุณหภูมิ 435-455 องศาเซลเซียส โดยจะเคลือบให้หนาประมาณ 65-300 ไมครอน เป็นวิธีที่เรียกว่า การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน หรือเรียกอีกอย่างว่าชุบกัลวาไนซ์ นั่นเอง [/col] [/row] [/section]
หากลำแสงเป็นมุมแคบ จะทำให้มีการโฟกัสที่เห็นเด่นชัด ในขณะที่ ลำแสงมุมกว้าง จะทำให้ลำแสงมีพื้นที่กว้างมากขึ้น
Beam Angle หรือ ที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “มุมกระจายแสง” มีคุณสมบัติคือ ค่าที่บ่งบอกว่า มีมุมกระจายแสงได้กว้างเท่าไหร่ ยิ่งมีค่ามากเท่าไร ยิ่งมีมุมกระจายแสงได้กว้างมากขึ้น โคมไฟถนน LED (บางรุ่น) จะระบุองศาที่กระจายแสงไว้ โดยดูค่ามุมกระจายแสง (Beam Angle) เช่น 120 องศา หรือ 140 องศา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการควบคุมแสงที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง Chip LED โดยการใช้เลนส์พลาสติกที่ติดมากับตัวโคม ออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อเพิ่มการกระจายแสง และกำหนดทิศทางของแสงให้เป็นไปตามการออกแบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่โคมไฟถนนชนิดดั้งเดิม อย่างโคมไฟชนิดหลอดเมทัลฮาไลด์ หรือ หลอดโซเดียม ไม่สามารถทำได้ นี่เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ผู้ใช้ควรใส่ใจและพิจารณา สังเกตง่ายๆครับ ยิ่งองศามาก การกระจายแสงยิ่งมาก จะทำให้แสงฟุ้งออกด้านข้างมากกว่า สว่างกว้างกว่า แต่ความเข้มของแสงก็จะน้อยลงตามไปด้วย
มาตรฐาน IP หรือชื่อเต็มคือ (Ingress Protection Ratings) ที่หมายถึง มาตรฐานการป้องกันฝุ่นและป้องกันน้ำนั่นเอง ซึ่งหลายๆคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า IP Rating, IP Code, IP Standard บ่อยๆ ซึ่งค่าIPนี้จะสามารถบ่งบอกถึงความสามารถในการป้องกันของแข็งและของเหลวในงานของเครื่องจักรและอุปกรณไฟฟ้าต่างๆ โดยมีระดับของของแข็งตั้งแต่ 0 ถึง 6 ระดับของของเหลวตั้งแต่ 0 ถึง 9k ในแต่ละดับก็จะมีรายละเอียดที่สามารถป้องกันได้แตกต่างกันออกไป ดังนี้ ระดับค่าป้องกันของแข็ง มี 7 ระดับ ระดับ ภาพตัวอย่าง รายละเอียด 0 ไม่สามารถป้องกันใดๆได้เลย 1 สามารถป้องกันการกระแทกที่เป็นของแข็งที่มีขนาด 50 mm. ขึ้นไปได้ โดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น มือ แขน เป็นต้น 2 สามารถป้องกันการกระแทกที่เป็นของแข็งที่มีขนาด 12 mm. ขึ้นไปได้ เช่น นิ้วมือ เป็นต้น […]
Hello word