รังสี UV คืออะไร

รังสี UV คืออะไร ในปัจจุบันเราน่าจะเคยได้ยินคำว่ารังสี UV มาบ้างแล้ว แต่คุณรู้ไหมว่าแท้จริงแล้วนั้นรังสี UV คืออะไร มาจากไหน แล้วมีประโยชน์หรือโทษอะไรบ้าง บทความนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับรังสี UV ได้ดีมากขึ้นอย่างแน่นอน รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือชื่อภาษาไทยเรียกว่า รังสีเหนือม่วง แต่เรามักเรียกกันอย่างสั้นๆ ว่า รังสี UV ที่จริงแล้วก็คือ “ช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความยาวคลื่นในช่วง 100-400 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV” ที่มันได้ชื่อดังกล่าวก็เพราะว่าสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วงนั้นเอง แหล่งกำเนิดรังสีอัลตราไวโอเลต 1. แหล่งที่เกิดจากธรรมชาติ การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ (Solar Radiation) ถือเป็นต้นกำเนิดที่สำคัญของรังสีและคลื่นต่างๆ ที่แผ่มายังโลก เช่น รังสี UV รังสีแกมม่า รังสีเอ็กซ์ รังสีอินฟาเรด คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ รวมถึงช่วงคลื่นที่มนุษย์มองเห็น (สีต่างๆ) แต่รังสีและคลื่นบางส่วนจะถูกดูดซับไว้ในชั้นบรรยากาศ ส่วนที่เหลือสามารถส่องมาถึงผิวโลกในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ 2. แหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial sources) […]

การออกแบบแสงสว่างคืออะไร

การออกแบบแสงสว่างคืออะไร แสงสว่างถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา เพราะแสงสว่างนั้นทำให้คนเราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ แต่ทว่าแสงสว่างนั้นก็ต้องมีความ เหมาะสม หากมีความสว่างมากหรือน้อยจนเกินไป ก็จะทำให้การมองเห็นสิ่งต่างๆ นั้นลำบากยิ่งขึ้น อีกทั้งอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดตามมาอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่ซึ่งมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ย่อมต้องการสภาพแสงที่แตกต่างกันออกไป เช่น ในโรงภาพยนต์ ต้องการความสว่างที่น้อยกว่าบริเวณสนามฟุตซอล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการออกแบบแสงสว่างเพื่อให้แต่ละพื้นที่นั้นมีแสงสว่างเหมาะสม ในขั้นตอนของการออกแบบการส่องสว่างจะต้องคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณ เพื่อให้ได้สภาพแวดล้อมการส่องสว่างที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ โดยครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ภายในอาคาร และนอกอาคาร อย่างไรก็ตามพื้นที่พิเศษบางประเภท เช่น ห้องผ่าตัดในโรงพยาบาล ห้องควบคุมการบิน และสนามกีฬา อาจต้องพิจารณาเกณฑ์คุณภาพแสงสว่างและข้อกำหนดเฉพาะของพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติม การออกแบบแสงสว่าง (Lighting design) เป็นการคิดคำนวน วางแผน เพื่อหาค่าความส่องสว่างที่เพียงพอ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน วิธีการออกแบบแสงเริ่มจากพิจารณาขนาดของส่วนต่างๆ ของพื้นที่ที่ต้องการออกแบบ โดยการคำนึงถึงผลการสะท้อนของพื้น ผนัง และเพดาน ซึ่งจัดเป็นการส่องสว่างแบบทางอ้อม เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การใช้ประโยชน์ ในขั้นตอนนี้โดยทั่วไปจะมีการออกแบบแสงสว่างมีสองวิธี คือ 1. วิธีการของ IES (Illumination Engineering Society) มาตรฐาน BS หมายถึง British Standards Exposure lndex […]

มาตรฐาน LM-80 และ LM-79 คืออะไร??

มาตรฐาน LM-80 และ LM-79 คืออะไร??   มาตรฐาน LM-80 และ LM-79 คืออะไร?? อันดับแรกเรามาทำความเข้าใจกันก่อนระหว่าง LM-80, LM-79 สองสิ่งนี้คือ ผลการทดสอบโคมไฟ LED ซึ่งจะทำให้คุณตัดสินใจเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ โคมไฟ หลอดไฟ LED ต่างๆ ได้อย่างมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่เลือกซื้อไปนั้นจะมีอายุการใช้งาน ความสว่างที่เพียงพอ คุ้มค่ากับระยะเวลาและราคาอย่างมั่นใจ LM-80 คืออะไร? LM-80 หมายถึง รายงานการทดสอบวัดค่าเสื่อมสภาพลูเมน (แสงลดลง) ของเม็ด LED หลอด LED นั้นจะมีระยะเวลาในการใช้งานอยู่ที่ 50,000 ชั่วโมง แต่เราจะไม่ทราบเลยว่า ความสว่างของ LED นั้นจะลดลงเมื่อไร การใช้งานทั่วไปตามบ้านเรือน อาจจะเปลี่ยนหลอดไฟ LED หรือโคมไฟ LED เมื่อแสงดับสนิท แต่ทราบหรือไม่ว่า บางสถานที่ เช่น โรงพยาบาล (ห้องผ่าตัด) หรือโรงงานขนาดใหญ่ […]

การจำแนกประเภทพื้นที่อันตราย

การจำแนกประเภทพื้นที่อันตราย บริเวณพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากการระเบิดหรือไฟไหม้ขึ้นได้ง่าย สภาวะที่จะเกิดเหตุจะมีออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอในการเกิดไฟไหม้ และมีแหล่งจุดติดไฟที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนมาก รวมกับส่วนผสมของเชื้อเพลิงและอากาศ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีความร้อนสูงสะสม เปลวไฟ และการถ่ายเทประจุจากไฟฟ้าสถิต เป็นต้น วิธีการจำแนกพื้นที่อันตรายมีสองวิธี คือ 1. การจำแนกเป็นประเภท ที่เป็นไปตามมาตราฐานของ NEC ซึ่งเป็นมาตรฐานการออกแบบ การติดตั้งระบบ และอุปกรณ์ไฟฟ้า  2.การจำแนกเป็นzone ที่เป็นไปตามมาตรฐานของ IEC แต่เมื่อจำแนกพื้นที่อันตรายมาใช้งานแล้ว จะไม่นำวิธีในการจำแนกบริเวณอันตรายที่แตกต่างกันมาใช้ผสมกันในการจำแนกบริเวณอันตรายในบริเวณเดียวกันโดยเด็ดขาด เพราะอาจเป็นการใช้มาตรฐานที่สับสนและขาดความเข้าใจอย่างแท้จริง ซึ่งการแบ่งzoneตามมาตรฐานของ NEC (The National Electrical Code Committee) และ NFPA (The National Protection Association คือมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย) Publication 70 จึงสามารถกำหนดพื้นที่อันตรายออกดังนี้ 1. บริเวณอันตรายประเภทที่ 1 คือบริเวณที่ก๊าซหรือไอระเหยของสารไวไฟ ผสมอยู่ในอากาศปริมาณมากเพียงพอที่ทำให้เกิดการจุดระเบิดได้ 2. บริเวณอันตรายประเภทที่ 2 คือบริเวณที่มีฝุ่นที่เผาไหม้ได้ ปริมาณมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการจุดระเบิด 3. บริเวณอันตรายประเภทที่ […]

คำศัพท์ที่ควรรู้ เกี่ยวกับหลอดไฟและแสงสว่าง

คำศัพท์ที่ควรรู้ เกี่ยวกับหลอดไฟและแสงสว่าง   คุณเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้บ้างไหม อยากจะเลือกซื้อหลอดไฟสัก 2-3 หลอดหรืออยากจะซื้อไฟสปอร์ตไลท์ LED สัก 1 ตัว แต่เมื่อไปอ่านรายละเอียดสินค้าแล้วกลับเจอแต่คำศัพท์แปลกๆ ไม่คุ้นหูคุ้นตา เอาไปแปลภาษาก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี ทำให้การเลือกซื้อสินค้าของคุณต้องใช้เวลานานขึ้น แถมยังอาจจะทำให้คุณซื้อสินค้าผิดประเภทมาก็ได้ ดังนั้นในวันนี้เราได้นำคำศัพท์ที่ควรรู้ เกี่ยวกับหลอดไฟและแสงสว่าง มานำเสนอ เพื่อที่จะช่วยให้คุณเข้าใจความหมายของคำศัพท์แปลกๆ เหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น และจะได้ช่วยให้การเลือกซื้อสินค้าของคุณเป็นไปอย่างถูกต้องตามที่ตั้งใจไว้ Average illuminance ( ค่าความสว่างเฉลี่ย ) คือค่า illuminance เฉลี่ยบนพื้นที่ใดหนึ่ง หน่วย : ลักซ์ Lux [lx] = lm/m2 สัญลักษณ์ : EAV Ballast ( บัลลาสต์ ) คืออุปกรณ์จ่ายกระแสไฟให้กับหลอดไฟ ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟให้คงที่ บัลลาสต์ Candela ( หน่วยความเข้มของความสว่าง ) หรือที่เรียกทั่วไปว่าแรงเทียน คือหน่วยของความเข้มแสง มีตัวย่อเป็น cd […]

ระบบ Solar Rooftop คืออะไร

  ระบบ Solar Rooftop คืออะไร คุณเป็นคนนึงหรือเปล่าที่เคยได้ยินคำว่าโซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าจริงๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าโซล่ารูฟท็อปคืออะไรแล้วมีประโยชน์อะไรบ้าง โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) คือ การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านเรือน โรงเรือน โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ กระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงจะเกิดขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์ซึ่งถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระทบกับสารกึ่งตัวนำที่จะทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน จึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอน ซึ่งนั้นก็คือกระแสไฟฟ้านั้นเอง หลักการทำงานของระบบโซลาร์รูฟท็อปก็คือ เมื่อตอนกลางวันแผงโซล่าเซลล์จะผลิตไฟฟ้าโดยจะต่อรวมเข้ากับไฟบ้าน (ระบบนี้ไม่ใช้แบตเตอรี่) โดยระบบจะเลือกใช้กระแสไฟจากโซล่าเซลล์ก่อนเช่น เราเปิดใช้พัดลม 100 วัตต์ระบบจะจ่ายไฟจากแผงโซล่ามา 100 วัตต์ แต่ถ้าหากมีการใช้ไฟฟ้าปริมาณมากกว่าที่แผงโซล่าเซลล์ผลิตได้ ระบบจะดึงไฟบ้านเข้ามาช่วยจ่ายไฟ ซึ่งจะช่วยเราประหยัดค่าไฟฟ้า แต่เมื่อถึงเวลากลางคืนจะไม่สามารถใช้ระบบนี้ได้จึงจำเป็นต้องใช้ไฟบ้านเท่านั้น ดังนั้นระบบโซล่ารูฟท็อปนี้จะทำงานได้แค่ตอนกลางวันเท่านั้น ถึงตอนนี้ผู้อ่านก็คงพอเข้าใจแล้วว่าระบบโซล่ารูฟท็อปคืออะไร แต่เดี๋ยวเราจะสรุปให้ฟังว่ามีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้าง ข้อดี 1.ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า เนื่องจากสามารถผลิตไฟฟ้าเองได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังวัตต์น้อยเราอาจจะไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าในส่วนนั้นเลยด้วยซ้ำ เพราะเราใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจากแผงโซล่าเซลล์แทนกระแสไฟบ้าน 2.เป็นพลังงานสะอาดไม่มีการปล่อยมลพิษใดๆ ทั้งสิ้น ในกระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงนั้นแม้ว่าจะมีกระบวนการทางเคมีเกิดขึ้น แต่ก็ไม่มีการปล่อยมลพิษออกมาสู่อากาศภายนอกแต่อย่างใด 3.ช่วยลดความร้อนของหลังคาบ้านเนื่องจากแผงโซล่าเซลล์ได้บดบังแสงอาทิตย์ไว้ 4.เพิ่มมูลค่าบ้านในอนาคต การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาก็ถือเป็นการลงทุนอย่างนึง ซึ่งหากมีจำเป็นต้องขายบ้านจริงๆ ละก็แผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งไว้ก็สามารถเพิ่มมูลค่าให้บ้านของคุณได้อย่างแน่นอน ข้อเสีย 1.ความเข้มของพลังงานขาเข้าต่ำ […]

ระบบโซล่าเซลล์ออนกริด (On Grid) คืออะไร??

ระบบโซล่าเซลล์ออนกริด (On Grid) คืออะไร?? ระบบออนกริด (On Grid) เป็นระบบโซลาร์เซลล์แบบต่อเข้ากับระบบสายส่งจากการไฟฟ้า (ไฟบ้าน) การผลิตไฟฟ้าระบบนี้จะใช้แผงโซลาร์เซลล์สำหรับการกำเนิดไฟฟ้า หลังจากนั้นจะจ่ายไฟให้กับกริดไทอินเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter) หรือพูดง่ายๆ ก็คือหม้อแปลงไฟนั้นเอง ซึ่งจะแปลงไฟฟ้ากระแส (DC) ตรงเป็นไฟกระแสสลับ (AC) และจะต่อเข้ากับระบบไฟบ้าน เพื่อใช้งานร่วมกันต่อไป ระบบออนกริดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยประหยัดพลังงาน โดยใช้แผงโซล่าเซลล์ที่ใช้รับพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งระบบนี้เหมาะกับการใช้งานในตอนกลางวันเท่านั้น เช่น บ้านที่มีการใช้งานในตอนกลางวัน อาคารสำนักงานที่ทำงานตอนกลางวัน วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ ออฟฟิต เป็นต้น อินเวอร์เตอร์ แบบออนกริดคืออะไรและทำงานอย่างไร ??              อินเวอร์เตอร์ แบบออนกริด จะทำงานเมื่อมีเงื่อนไขว่า มีไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ และมีไฟบ้านเท่านั้น เนื่องจากเป็นการป้องกันเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับแล้วเจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาซ่อมไฟ อาจได้รับอันตรายได้ โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์ จะถูกนำมาใช้งานในตอนกลางวัน แต่เมื่อมีการใช้ไฟมากเกินว่าระบบผลิตได้ ระบบจะจ่ายไฟบ้านเข้ามาเสริมอีกแรง และเมื่อตอนเย็นใกล้ค่ำโวลท์ของแผงโซลาร์จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อต่ำถึงเกณฑ์ที่กำหนด อินเวอร์เตอร์ จะปิดตัวลงอัตโนมัติและกลับไปใช้ไฟบ้านตามปกติ รอรุ่งเช้าของวันใหม่เมื่อมีแสงสว่างโวลท์ของแผงโซลาร์จะค่อยๆสูงขึ้น ทำให้อินเวอร์เตอร์กลับมาทำงานอีกครั้ง […]

แผงโซล่าเซลล์ควรหันไปทางทิศใด

  แผงโซล่าเซลล์ควรหันไปทางทิศใด ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นสักนิดนึงว่าประเทศไทยของเรานั้นมีภูมิประเทศตั้งอยู่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาทางทิศเหนือนิดหน่อย ซึ่งนั้นถือเป็นข้อดีที่ทำให้ประเทศไทยนั้นสามารถรับปริมาณแสงแดดได้เข้มข้นกว่าประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณเขตเส้นศูนย์สูตร ซึ่งข้อเสียหลักๆ ที่เห็นได้ชัดก็คืออุณหภูมิที่สูงเป็นเงาตามตัวอย่างเลี่ยงไม่ได้นั้นเอง แต่หากจะพูดถึงหนึ่งในประโยชน์ของการที่ประเทศไทยได้รับแสงแดดแบบเข้มข้นก็คือ ทำโซล่าฟาร์ม หรือก็คือโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ นั้นเอง ซึ่งการทำโซล่าฟาร์มนั้นตั้งคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างเช่น การจัดสรรงบประมาณ การเลือกพื้นที่ การดูแลรักษา และการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งเป็นหัวข้อที่เราจะมาพูดถึงในบทความนี้นั้นเอง การติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์ นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. แบบหมุนตามแสงอาทิตย์ (Tracking System) โดยจะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการคำนวนว่ามุมและทิศทางใดที่สามารถรับแสงจากดวงอาทิตย์มากที่สุด จากนั้นจึงสั่งให้กลไกหมุนแผงโซล่าเซลล์ไปยังทิศทางนั้นๆ (คล้ายๆ กับดอกทานตะวันที่จะหันไปยังดวงอาทิตย์ได้เอง) 2. แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Fixed System) จะต่างจากแบบแรกคือแผงโซล่าเซลล์ไม่สามารถขยับได้ ผู้ติดตั้งต้องศึกษาข้อมูลแต่ละพื้นที่เพื่อกำหนดทิศทางและมุมองศาให้ดีก่อนการติดตั้ง โดยปกติการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์จะเป็นลักษณะวงรีแคบๆ และโลกจะหมุนรอบตัวเองไปด้วย คิดเป็นเวลา หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 1 วัน โดยจะมีมุมหมุนเอียง ที่คงที่ 23.45 องศา จึงเป็นผลให้แสงแดดแรงในช่วงฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาว และส่งผลให้ฤดูร้อนมีเวลากลางวันยาวกว่าฤดูหนาวนั่นเอง ซึ่งประเทศไทยตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร “เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกจากนั้นจึงอ้อมผ่านทิศใต้ก่อนจะตกดินทางทิศตะวันตก” ดังนั้นการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่ดีควรหันไป […]

ไฟกระชากหายนะของเครื่องใช้ไฟฟ้า!!!

        ไฟกระชากหายนะของเครื่องใช้ไฟฟ้า!!!  ในช่วงเวลาที่ฝนตก สภาพอากาศภายนอกอาคารที่มีฝนตกและมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นเป็นระยะ ซึ่งการเกิดฟ้าผ่าก็คือการถ่ายเทประจุไฟฟ้าจำนวนมหาศาลจากก้อนเมฆลงสู่พื้นดิน เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลก็จะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีพลังมหาศาลแผ่ไปยังทุกทิศทาง โดยสนามแม่เหล็กไฟฟ้านี้จะไปเหนี่ยวนำกับสายไฟฟ้าหรือคู่สายสัญญาณต่างๆ การเหนี่ยวนำนี้ทำให้เกิดกระแสไฟกระชากหรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า ไฟเกินเกิดขึ้น กระแสไฟกระชากก็จะวิ่งผ่านสายไฟฟ้าเข้าสู่ตัวอาคารตรงไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกจุดที่ต่อใช้งานรวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อกับสายสัญญาณต่างๆซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์เหล่านี้ได้รับความเสียหายได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของกระแสไฟกระชากและความเปราะบางของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นสร้างความเสียหายมากมายทำลายทั้งชีวิตและความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้ เหนี่ยวนำเข้ามาทางสายไฟฟ้า AC Power Line คือ           การเหนี่ยวนำเข้ามาทางสายไฟฟ้า AC Power LINE ยกตัวอย่าง บ้าน 2 ชั้นหลังหนึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆต่อใช้งานอยู่ รวมถึงมีอุปกรณ์ทางด้านโทรศัพท์เช่น Modem ต่อใช้งานกับอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วย เมื่อเกิดฟ้าผ่าก่อตัวเกิดขึ้นตามธรรมชาติจะมีการสะสมประจุบวกอยู่บริเวณด้านบนของก้อนเมฆ และประจุลบอยู่บริเวณด้านล่างของก้อนเมฆ เมื่อประจุลบสะสมตัวกันมากจะเกิดฟ้าผ่าลงมายังพื้นโลกทำให้มีการเหนี่ยวนำประจุบวกจากพื้นดินให้ขึ้นมาอยู่บริเวณยอดแหลมต่างๆ เช่น บริเวณตามยอดของต้นไม้ เป็นต้น เมื่อประจุลบสะสมตัวทำให้เกิดความหนาแน่นของประจุจนกระทั่งถึงจุดจุดหนึ่ง จะเกิดการถ่ายเทประจุจากก้อนเมฆลงสู่พื้นดินโดยเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า ฟ้าผ่าไฟกระชากที่เกิดขึ้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 คุณลักษณะ ดังนี้ ไฟกระชากแบบช่วงสั้น หรือ Transient คือ สภาวะไฟเกินที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า โดยอาจมีค่าสูงมากกว่า 1000โวล์ขึ้นไป […]