เจาะลึกสายไฟ ประกอบด้วยอะไรบ้าง ทำหน้าที่อะไร??
สายไฟ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบไฟฟ้า มีหน้าที่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยังอุปกรณ์หรือจุดใช้งานต่าง ๆ โดยปกติ สายไฟประกอบด้วย แกนทองแดงหรืออะลูมิเนียม ซึ่งหุ้มด้วยฉนวนที่ทำจากวัสดุที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น พีวีซี (PVC) หรือ XLPE เพื่อป้องกันการลัดวงจรและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน สายไฟถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภท เช่น สายไฟสำหรับใช้ในอาคาร สายไฟสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสายไฟสำหรับงานกลางแจ้ง
สายไฟประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตัวนำสายไฟ มีหน้าที่ในการนำกระแสไฟ โดยต้องมีแรงต้านทานต่ำ สามารถอ่อนตัวได้ดี อาจจะอยู่ในรูปแบบของตัวนำเดี่ยว หรือตัวนำที่ตีเกลียว ที่เกิดจากการตีตัวเดี่ยวให้เป็นเกลียว เพื่อให้สามารถนำกระแสไฟได้ดียิ่งขึ้น จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ตัวหลักๆที่เป็นที่นิยม คือ ทองแดง และ อะลูมิเนียม
- ตัวทองแดงจะสามารถนำไฟฟ้าแข็งแรงและยืดหยุ่น แต่จะมีราคาสูงและมีน้ำหนักค่อนข้างมาก
- อะลูมิเนียมสามารถนำไฟฟ้าได้น้อยกว่าทองแดงและเปราะกว่า แต่ราคาถูกและน้ำหนักเบากว่า
ฉนวน เป็นส่วนที่กั้นไม่ให้มีการไหลผ่านของกระแสไฟไปยังสิ่งที่สัมผัส ซึ่งมี 2 ชนิดด้วยกันที่นิยมใช้งานคือ PVC และ XLPE
- PVC จะสามารถทนได้ที่อุณหภูมิ 70 องศา มีความนิ่มและอ่อนตัว ดัดโค้งได้ง่าย มีคุณสมบัติต้านทานการลุกไหม้ในตัวเอง
- XLPE สามารถทนได้ที่อุณหภูมิ 90 องศา มีความแข็งแรง แต่เมื่อติดไฟแล้วจะลุกลามอย่างรวดเร็ว
เปลือก ส่วนที่ปกคลุมฉนวนอีกที ช่วยในการป้องกันการเสียหายที่เกิดจากการใช้งานหรือการติดตั้ง และยังช่วยในการป้องกันการกัดกร่อน กันแสงแดดที่ส่อง แต่ในสายไฟบางชนิดอาจจะมีหรือไม่มีส่วนนี้ขึ้นอยู่กับการผลิตตามมาตรฐานของสายนั้นๆ ซึ่งมีทั้ง PVC และ PE นอกจากนี้ยังมีสายที่ต้องการคุณสมบัติพิเศษ อาจต้องใช้วัสดุพิเศษเช่น FR-PVC
สายไฟ เป็นหัวใจสำคัญในระบบไฟฟ้าที่ต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสมกับลักษณะงานและสภาพแวดล้อม การทราบถึงส่วนประกอบและแต่ละหน้าที่ของแต่ละส่วนประกอบ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน การเลือกสายไฟที่มีคุณภาพและเหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้