ศักยภาพพลังงานทดแทนของภาคใต้ในประเทศไทย
พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย จึงถือเป็นอีกหนึ่งทำเลศักยภาพที่สำคัญของการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะพลังงานทดแทน ด้วยวัตถุดิบที่พร้อม แข็งแกร่งด้วยความพร้อมของการลงทุน มีศูนย์การเรียนรู้ทางพลังงานที่ครบครัน
โดยมีจุดแข็งสำคัญ 3 ข้อ ดังนี้
1.ได้เปรียบเรื่องแหล่งพลังงานที่นำมาผลิตไฟฟ้า
แหล่งวัตถุดิบผลิตพลังงานที่นำไปผลิตกระแสไฟฟ้าในภาคใต้ มีศักยภาพมาก ตัวอย่างเช่นในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพียงแค่จังหวัดเดียว มีแหล่งผลิตพลังงานที่นำไปใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้หลากหลาย เช่น
– พลังงานจากชีวมวล ( จาก ไม้ยางพารา และทะลายปาล์ม ) กำลังผลิตติดตั้งประมาณ 36,000 กิโลวัตต์
– พลังงานจากก๊าซชีวภาพ กำลังผลิตติดตั้งประมาณ 5,300 กิโลวัตต์
– พลังงานลม กำลังผลิตติดตั้งประมาณ 101,000 กิโลวัตต์
– พลังงานจากลมร้อนทิ้ง กำลังผลิตติดตั้งประมาณ 37,000 กิโลวัตต์
รวมกำลังผลิตทั้งสิ้นประมาณ 179,000 กิโลวัตต์ ( 0.179 เมกะวัตต์ ) นอกจากนี้อีกหลายพื้นที่ของ 14 จังหวัดยังมีศักยภาพเพียงพอที่จะสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ หรือ โซล่าเซลล์ จากขยะ จากน้ำเสีย และจากมูลสัตว์ได้เป็นอย่างดี
2.เป็นแหล่งอุตสาหกรรมพลังงาน
แหล่งพลังงานก๊าซธรรมชาติจากการร่วมมือไทย-มาเลเซีย (JDA-A18) ในอ่าวไทยได้ถูกนำไปผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าจะนะจังหวัดสงขลา ที่สามารถป้อนไฟฟ้าให้กับจังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ในส่วนของภาคเอกชนมีการลงทุนด้านพลังงานทดแทนอย่างคึกคัก และปัจจัยแหล่งวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ทำให้ภาคใต้มีแนวโน้มการพัฒนาพลังงานทดแทนที่เด่นชัดมากขึ้นกับการสร้างความมั่นคงจากโรงไฟฟ้าหลัก
3.มีศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการใช้พลังงาน
ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมชัดเจน คือ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทับสะแก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ผลิตไฟฟ้าจาก แผงโซล่าเซลล์ ซึ่งได้เดินเครื่องเข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อเดือนสิงหาคม 2016 ที่ผ่านมา
มีกำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์ คิดเป็นพื้นที่ 250 ไร่ ยังเป็นหนึ่งโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐในการผลักดันพลังงานหมุนเวียนมาผลิตกระแสไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก
นอกจากนี้ในพื้นที่เกาะหลายแห่งในภาคใต้ อาทิ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เกาะสมุย เกาะพยาม เกาะตะรุเตา เป็นต้น ยังมีการใช้ โซล่าเซลล์ ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าภายในเกาะ ซึ่งช่วยลดการพึ่งพิงจากพลังงานหลัก
ที่มา – เรียบเรียงข้อมูลจากวารสาร Energy Plus Special ฉบับที่ 1/6/2017 ฟ้าให้กับจังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา