การจำแนกประเภทพื้นที่อันตราย

การจำแนกประเภทพื้นที่อันตราย

บริเวณพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากการระเบิดหรือไฟไหม้ขึ้นได้ง่าย สภาวะที่จะเกิดเหตุจะมีออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอในการเกิดไฟไหม้ และมีแหล่งจุดติดไฟที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนมาก รวมกับส่วนผสมของเชื้อเพลิงและอากาศ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีความร้อนสูงสะสม เปลวไฟ และการถ่ายเทประจุจากไฟฟ้าสถิต เป็นต้น

วิธีการจำแนกพื้นที่อันตรายมีสองวิธี คือ 1. การจำแนกเป็นประเภท ที่เป็นไปตามมาตราฐานของ NEC ซึ่งเป็นมาตรฐานการออกแบบ การติดตั้งระบบ และอุปกรณ์ไฟฟ้า  2.การจำแนกเป็นzone ที่เป็นไปตามมาตรฐานของ IEC แต่เมื่อจำแนกพื้นที่อันตรายมาใช้งานแล้ว จะไม่นำวิธีในการจำแนกบริเวณอันตรายที่แตกต่างกันมาใช้ผสมกันในการจำแนกบริเวณอันตรายในบริเวณเดียวกันโดยเด็ดขาด เพราะอาจเป็นการใช้มาตรฐานที่สับสนและขาดความเข้าใจอย่างแท้จริง ซึ่งการแบ่งzoneตามมาตรฐานของ NEC (The National Electrical Code Committee) และ NFPA (The National Protection Association คือมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย) Publication 70 จึงสามารถกำหนดพื้นที่อันตรายออกดังนี้

1. บริเวณอันตรายประเภทที่ 1 คือบริเวณที่ก๊าซหรือไอระเหยของสารไวไฟ ผสมอยู่ในอากาศปริมาณมากเพียงพอที่ทำให้เกิดการจุดระเบิดได้

2. บริเวณอันตรายประเภทที่ 2 คือบริเวณที่มีฝุ่นที่เผาไหม้ได้ ปริมาณมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการจุดระเบิด

3. บริเวณอันตรายประเภทที่ 3 คือบริเวณที่มีเส้นใยในการติดไฟได้ง่าย มีปริมาณมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดอันตรายจากการจุดระเบิดได้

วิธีการจำแนก zone ตามมาตรฐาน IEC คือการแบ่งพื้นที่อันตรายตามมาตรฐาน The International Electrotechnical Commission (IEC) ; IEC 60079-10 และ CEC Section 18 ซึ่งสามารถครอบคลุมสารไวไฟที่เป็นก๊าซ , ไอระเหยและฝุ่น ( Gases , Vapors and Mists ) แต่ไม่รวมฝุ่นไวไฟ ( Combustible or Electrotechnical Conductive Dusts ) แบ่งโอกาสความเป็นไปได้ของการเกิดสภาพบรรยากาศที่จุดติดไฟได้ออกเป็นzone 0 , 1 , 2 , 20 , 21 และ22 ดังนี้

ก๊าซ และสารระเหย (G)

Zone 0 เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง บรรยากาศที่ทำให้ระเบิดเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน มีสารเคมีหรือก๊าซไวไฟปรากฎ แม้ว่าzone 0 จะเป็นzoneที่เลวร้ายที่สุด แต่เป็นเรื่องยากมากที่zone 0 จะเป็นระบบเปิด ซึ่งโดยทั่วไปจะมีช่องว่างของไอน้ำอยู่เหนือของเหลวในถังบรรจุสาร อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในพื้นที่ zone 0 มักจะเป็นเครื่องมือวัดต่าง ๆ เช่น เครื่องมือวัดอุณหภูมิ และเครื่องมือวัดระดับของเหลว เป็นต้น อุปกรณ์เครื่องวัดดังกล่าว จะต้องเป็นประเภทที่ปลอดจากสาเหตุการเกิดระเบิด (Intrinsically Safe) เท่านั้น เพราะอุปกรณ์ประเภทนี้ใช้กำลังไฟต่ำ จึงทำให้เมื่อมีการเกิดการลัดวงจรในอุปกรณ์เครื่องมือเหล่านี้ พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นมีไม่มากพอให้แก๊สหรือไอระเหยไวไฟเกิดการจุดติดไฟได้

Zone 1 เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงปานกลาง เป็นบริเวณที่อุปกรณ์ชนิดพิเศษหรืออุปกรณ์ที่มีการจำแนกชนิด ต้องถูกนำมาใช้ในบริเวณนี้ ก๊าซ ของเหลว หรือหมอก จะถูกคาดไว้ว่า การปราฏขึ้นหรือการปรากฏในช่วงเวลาที่ยาวนาน ภายใต้สภาวะการทำงานปกติ บริเวณนี้จะมีสารอันตรายปรากฏขึ้นระหว่าง 10 – 1000 ชั่วโมงต่อปี หรือ 0.1 – 10 % ของเวลา อุปกรณ์ที่ได้รับการป้องกันการระเบิดสูงกว่าระดับ 2 จะต้องถูกนำไปใช้ในโซนนี้

Zone 2 เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ  โดยบริเวณนี้จะเป็นบริเวณที่ก๊าซ หมอก ไอ หรือของเหลวไวไฟ จะมีได้ต่ำกว่าสภาวะผิดปกติ โดยส่วนมาก จะมีการรั่วไหลออกมาในระดับที่ต่ำกว่าสภาวะผิดปกติ สำหรับแนวทางการพิจารณา โดยทั่วไปแล้ว บริเวณนี้จะมีวัตถุไวไฟปรากฏอยู่ไม่เกิน 10 ชั่วโมงต่อปี หรือ 0 – 0.1 % ของเวลา อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีระบบป้องกันการเกิดการระเบิด ควรจะถูกใช้ในบริเวณนี้

ฝุ่น (D)

Zone 20: เป็นพื้นที่ที่มีสภาพบรรยากาศที่จุดติดไฟได้ในรูปแบบของหมอกแป้งฝุ่น ปรากฏอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีปริมาณฝุ่นผงเพียงพอที่จะทำให้เกิดระเบิดขึ้นได้

Zone 21: เป็นพื้นที่ที่สามารถพบเจอสภาพบรรยากาศที่จุดติดไฟได้ในรูปแบบของหมอกแป้งฝุ่นได้ เป็นครั้งคราวภายในการทำงานทั่วไป ซึ่งมีปริมาณฝุ่นผงเพียงพอที่จะทำให้เกิดระเบิดขึ้นได้

Zone 22: เป็นพื้นที่ที่มีโอกาสน้อยหรืออาจไม่เจอสภาพบรรยากาศที่จุดติดไฟได้ในรูปแบบของหมอก แป้ง และฝุ่น ภายใต้การทำงานทั่วไป หรือหากพบเจอก็จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งอาจจะเกิดการสะสมเกิดเป็นชั้น ๆ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • http://www.cbwmthai.org/test/Activity_Detail.aspx?id=14
  • http://contrologic.co.th/web/การป้องกันการระเบิดเบื/?lang=th
  • http://wittawat72.blogspot.com/2015/03/nfpanational-fire-protection.html
  • http://lopeka-ee-room.blogspot.com/2014/10/blog-post_74.html
  • facebook.com/ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)
  • www.ctenvironment.org/2014/06/05/the-epas-new-climate-rule-a-complete-breakdown/esu5wrg/
  • https://hilight.kapook.com/view/42801